โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) มีผลกระทบต่อแม่และทารก เรื่องของ “อาหารการกิน” จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับพลังงานวันละ 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน (น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์) และเพิ่มพลังงานสำหรับทารก 300 กิโลแคลอรี่ ซึ่งตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 1800 กิโลแคลอรี่ มีดังนี้
สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน
ตัวอย่างอาหารในแต่ละมื้อ
อาหารมื้อเช้า เช่น ข้าวต้มเครื่องไก่
อาหารว่างเช้า เช่น แอ๊ปเปิ้ล 1 ลูกเล็ก
อาหารมื้อกลางวัน เช่น ข้าวหมูอบ แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ผลไม้
อาหารว่างบ่าย เช่น นมจืด 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร) และแครกเกอร์ 4 ชิ้นเล็ก
อาหารมื้อเย็น เช่น ข้าวสวย แกงเลียงกุ้ง+ผักรวม ไข่เจียว ผลไม้
อาหารก่อนนอน เช่น นมจืด 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร)
ฉลาดเลือก คือ..รู้จักดัชนีน้ำตาลในอาหาร หรือ glycemic index (GI) ควรเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่มีค่า GI ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้การดูดซึมระดับน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ ไม่รู้สึกหิวบ่อย
ฉลาดนับ คือ..รู้จักการนับคาร์บ เพื่อให้เลือกทานอาหารในปริมาณเหมาะสม อาหารกลุ่มที่มีคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าวแป้ง ผลไม้ ผัก และนม โดย 1 คาร์บของแต่ละกลุ่มจะเทียบเท่ากับอาหาร ดังนี้
ข้าว-แป้ง 1 คาร์บ
- ข้าวสวย 1 ทัพพี
- ขนมปัง 1 แผ่น
- บะหมี่ ⅔ ก่อน
- ข้าวโพด ½ ฟัก
- วุ้นเส้น 1 ทัพพี
- แครกเกอร์ 4-5 ชิ้น
- ฟักทอง 2 ทัพพี
- ขนมจีน 1 จับ
- เส้นใหญ่ 1 ทัพพี
- มันฝรั่ง ½ ลูก
- ซาหริ่ม 1 ทัพพี
- มะกะโรนี ⅔ ถ้วย
นม 1 คาร์บ
- นมจืด 240 มิลลิลิตร
- นมผง 4 ช้อนโต๊ะ
- โยเกิร์ต 1 ถ้วย
ผัก 1 คาร์บ
- ผักที่มีแป้งมาก 3 ทัพพี : ถั่วฝักยาว ดอกแค แครอท เห็ดฟาง หน่อไม้ ถั่วงอก ผักกระเฉด ผักคะน้า บร็อคโคลี มะละกอดิบ หอมใหญ่
ผลไม้ 1 คาร์บ
- ส้ม 1 ผล
- ฝรั่ง 1 ผล
- กล้วยน้ำว้า 1 ผล
- แอปเปิล 1 ผล
- กีวี 1 ผล
- มะม่วงสุก ½ ผลกลาง
- แคนตาลูป 8 ชิ้นพอคำ
- แตงโม 8 ชิ้นพอคำ
- มะม่วงดิบ ½ ผลใหญ่
- ลองกอง 8-9 ผล
- เงาะ 4 ผลใหญ่
- แก้วมังกร 8 ชิ้นพอคำ
- สับปะรด 8 ชิ้นพอคำ
- มะละกอ 8 ชิ้นพอคำ
- ส้มโอ 2 กลีบใหญ่
- น้ำแอปเปิล 120 มิลลิลิตร
- น้ำส้ม 120 มิลลิลิตร
- น้ำฝรั่ง 120 มิลลิลิตร
- น้ำองุ่น 80 มิลลิลิตร
ฉลาดทาน คือ..รู้จักหลักการทานอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
- พลังงานเพียงพอ และปริมาณคาร์โบไฮเดรตพอดีกับความต้องการร่างกาย หรืออินซูลิน
- ทานวันละ 4 มื้อ โดยมี 3 มื้อหลัก+มื้อว่าง 2-3 มื้อ และไม่ทานจุกจิก
- ควบคุมปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบไฮเดรต
- ทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก ผลไม้
- เลือกผลไม้สดชนิดหวานน้อย (ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ) ปริมาณ 2-3 ส่วน/วัน โดยแบ่งทานในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงขนมหวาน น้ำหวาน ไอศกรีม ผลไม้แห้ง น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นมรสหวาน นมเปรี้ยว
- เลือกทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอ โดยเลือกทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ นม
- สารอาหารสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับให้เพียงพอ ได้แก่ แคลเซียม ซึ่งพบได้ในอาหารประเภทนม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว และธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้ในอาหารประเภทเนื้อแดง เลือด เครื่องในสัตว์
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
เอกสารอ้างอิง:
1. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560
2. รุจิรา สัมมะสุต. หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด. พิมพ์ครั้งที่3. ปราจีนบุรี: สุพัตราการพิมพ์, 2552
Credit: