การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ กรณีที่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นเลยทั้งวัน ทั้งๆ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์มาโดยตลอดควรจะไปโรงพยาบาลให้แพทย์ช่วยตรวจดูเพื่อความแน่ใจ
อีกทั้ง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 – 35 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มนอนและตื่นเป็นเวลา หากลองนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์โดยบันทึกเวลาที่ทารกใช้ในการเคลื่อนไหวจนครบ 10 ครั้งทุกวัน ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้นว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่
มาตรวจสอบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์กันเถอะ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ กรณีที่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นเลยทั้งวัน ทั้งๆ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์มาโดยตลอดควรจะไปโรงพยาบาลให้แพทย์ช่วยตรวจดูเพื่อความแน่ใจ
อีกทั้ง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 32 – 35 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มนอนและตื่นเป็นเวลา หากลองนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์โดยบันทึกเวลาที่ทารกใช้ในการเคลื่อนไหวจนครบ 10 ครั้งทุกวัน ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้นว่าทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่
วิธีการนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
1) ทำทุกวัน หลังกินอาหารหรือก่อนเข้านอน ตอนที่คุณแม่ผ่อนคลายอิริยาบท
2) นอนตะแคงหันลำตัวด้านซ้ายลงข้างล่าง
3) จับเวลาว่าใช้เวลากี่นาทีกว่าทารกจะเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนจนครบ 10 ครั้ง
– กรณีที่รู้สึกต่างไปจากปกติหรือไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เลยทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้รู้สึกได้โดยตลอด ขอให้ลองไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลดูโดยเร็วเพื่อความแน่ใจ
ถึงจะมีบางเวลาที่ทารกในครรภ์ไม่เคลื่อนไหวก็ไม่เป็นไร
พอเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ก็คงจะรู้สึกเป็นกังวลใจขึ้นมาเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ใช่ไหม แต่ทารกมีเวลาที่หลับและตื่นในระหว่างที่อยู่ในท้อง โดยทารกจะมีวงจรของช่วงหลับและตื่นอยู่ที่ประมาณ 60 นาที หากผ่านไป 1 ชั่วโมงแล้วยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เลย ขอให้ลองไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจดู
การสื่อสารกับลูกในท้องการรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าทารกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง
ช่วงที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทพัฒนาขึ้นมาพอสมควร ประสาทในการรับฟังเสียงก็เติบโตสมบูรณ์แล้ว เราลองมาสื่อสารกับทารกในหลายๆ รูปแบบ เช่น จับท้อง พูดคุยด้วย หรือฟังดนตรีกันดู! คงไม่มีความสุขใดจะดียิ่งไปกว่าการได้ถ่ายทอดการกระทำของคุณแม่ไปถึงทารกและรู้สึกได้ถึงปฏิกิริยาตอบสนองดังกล่าว ซึ่งในการสื่อสารดังกล่าวก็อยากจะขอแนะนำ เกมเตะเลยลูก ซึ่งเป็นเกมเพื่อการสื่อสารกับลูกผ่านทางการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ มาลองเล่นดูสักครั้งไหม?
– เกมเตะเลยลูก
เกมเตะเลยลูกนั้น ในตอนแรกจะเริ่มง่ายๆ ก่อน เมื่อทำได้แล้วจึงจะก้าวไปสูงขั้นต่อไป ทั้งนี้มีเด็กบางคนที่มีปฏิกิริยาตอบสนองเร็ว และมีเด็กบางคนที่ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนอง แต่ถึงแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองก็ไม่ต้องร้อนใจ! การกระทำดังกล่าวจะถ่ายทอดไปถึงทารกอย่างแน่นอน เลือกสถานที่และเวลาที่สามารถผ่อนคลายและสนุกสนานได้ โดยใน 1 วันขอให้ทำ 2 – 3 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน
1) หากทารกเตะ ก็ตบเคาะบริเวณนั้นพร้อมกับพูดว่า “เตะ” หลังจากนั้น 1-2 นาที เด็กก็จะเตะกลับมา และก็ขอให้ตบเคาะตรงที่เดียวกันอีกพร้อมกับพูดว่า “เตะ” เด็กก็จะเตะตรงบริเวณเดิมอีก
2) พอทำตามข้อ 1 ไปหลายๆ วัน ต่อไปก็ไปตบเคาะตรงบริเวณที่ต่างจากจุดที่ทารกเตะพร้อมกับพูดว่า “เตะ” พอทำเช่นนั้น ทารกก็จะไปเตะตรงที่แม่ตบเคาะ พอทำเช่นนี้ ซ้ำไปซ้ำมาสัก 1 – 2 สัปดาห์ ทารกก็จะเตะตรงบริเวณใกล้ๆ กับที่แม่ตบเคาะ
3) พอเริ่มเคยชินแล้ว เมื่อตบเคาะไป 2 ครั้ง พร้อมกับพูดว่า “เตะ เตะ” ทารกก็จะเตะตอบกลับมา 2 ครั้ง ทารกจะเตะตอบกลับมาเท่ากับจำนวนครั้งที่แม่ตบเคาะท้อง
Credit : https://th.mamypoko.com/th/mamatips/pregnancymom01.html